วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ีายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย และเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย ดังนี้
4.1 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย
เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย แบ่งออกตามฃนิดของสายสื่อสารได้ 3 ชนิด ดังนี้
1) สายตีเกลียวคู่ (twisted pair cable) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดง 2 เส้นที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก พันบิดกันเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นเ้เม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกัน หรือจากภายนอก เนื่อจากการสายตีคู่เกลียวคู่นี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายตีเกลียวคู่จะขึ้นอยู่กับความหนาของสาย คือ สายทองแดงที่เส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สารถส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วสูง โดยทั่วไปใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล สามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินหนึ่งร้อยเมตร เนื่องจากมีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดีจึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง สายตีเกลียวคู่มี 2 ชนิด ดังนี้
1.1) สายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดไม่หุ้มฉนวน (Un-shielded Twisted pair : UTP) เป็นสายตีเกลียวคู่ที่ไม่มีฉนวนชั้นนอก ทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่สามารถป้องกันการรบกวนของชนิดหุ้มฉนวน (STP) ใช้ในระบบวงจรโทรศัพท์แบบดั้งเดิม ปัจจุบันมีการปรับคุณสมบัติให้ดีขึ้น สามารถให้กับสัญญาณความถี่สูงได้ และเนื่องจากมีราคาถูกจึงนิยมใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย
1.2)สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวน หรือชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายตีเกลียวคู่ที่ชั้นนอกหุ้มด้วยลวดถักที่หนา เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า รองรับความถี่ของการส่งข้อมูล ได้ถูกกว่าสายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน แต่มีราคาแพงกว่า
2) สายโคเเอกซ์ ( Coaxial cable ) มีลักษณะเช่นเดียวกันกับสายที่ต้องมาจากเสาอากาศ ประกอบด้วย ลวดทองเเดงที่เป็นแกนหลักหุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึง เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว จากนั้นจะหุ็้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถัก เป็นเปียเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า เเละสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุด ด้วยฉนวนพลาสติก สัญญาณไฟฟ้า สามารถผ่านได้สูงมาก นิยมใช้เป็นช่องสื่อสัญญาณดิจิทัล และชนิด 75 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณ อะนาล็อก
3) สายใยเเก้วนำเเสง ( fiber optic cable ) หรือสายใยนำเเสง แกนกลางของสาย ประกอบด้วย สายใยแก้ว หรือเส้นพลาสติกขนาดเล็ก ภายในกลวง หลายๆ เส้น อยู่รวมกัน เส้นใยเเต่ล่ะเส้นมีขนาดเล็กประมาณเส้นผมของมนุษย์ เส้นใยเเต่ล่ะเส้นห่อหุ้มด้วย เส้นใยอีกชนิดหนึง ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุด ด้วยฉนวน การรับส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลาง ชนิดนี้จะแตกต่างชนิดอื่นๆ ซึงจะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ล่ะเส้น และอาศัยหลักการหักเหของเเสง ด้วยใช้เส้นใยชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนเเสง สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาเเนของสัญญาณข้อมูลที่สูงมาก เเละไม่มีการก่อกวนของคลื่นเเม่เหล็ก ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง หรื่อ วีดิทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน เเต่ยังมีข้อเสีย เนื่องจากการบิดงอของสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหักจึงไม่สามารถใช้สื่อกลางนี้เดินทางตามมุมตึกได้ สายใยเเก้ว นำเเสง มีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคาร หรือระหว่างเมืองกับเมือง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น