วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ตัวชี้วัด

    ตัวชี้วัด      
อธิบายหลักการเบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูล  และเครือข่ายคอมพิวเตอร์
(ง 3.1 ม. 2/1)
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1.การสื่อสารข้อมูล คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารจากผู้ส่งผ่านสื่อกลางไปยังผู้รับ
2.พัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล
3.อุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์
4.เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
5.ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์


ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์


1.ความสะดวกในการเก็บข้อมูลสามารถเก็บไว้ได้มากเเละปลอดภัยสามารถส่งข้อมูลได้ถึง200หน้า
2.ความถูกต้องของข้อมูลสามารถ จะมีการตรวจสอบข้อมูลก่อนถ้าเกิดความผิดพลาดจะมีการรรับรเละเเก้ไขใหม่
3.ความเร็วของการทำงาน สัญญานไฟฟ้าจะเร็วเท่าความเร็วเเสงจึงทำให้การส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกีกโลกหนึงเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
4.ประหยัดต้นทุนในการสื่อสารข้อมูล การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย เพื่อส่งข้อมูลราคาต้นทุนจึงไม่สูงนัก เมื่อเทยบกับการส่งวิธีอื่น
5.สามารถเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง สามารถมีข้อมูลที่ส่วนกลางเพียงชุดเดียว เวลาเกิดการเปลี่ยนเเปลงสามารถเปลี่ยนเเปลงที่ส่วนกลาง
6.การใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันได้ ในระบบเครื่อข่ายนั้นจะทำให้สามารถใช้อุปกรณ์เดียวกันได้ จึงทำให้ประหยัดทั้งงบประมาณ เเละทรัพยากร
7.การทำงานเป็นกลุ่ม สามารถใช้ประโยขน์ของระบบเเผนกเดียวกันได้เป็นอย่างดี  เช่น สามารถร่วมเเก้ไขเอกสารตัวเดียวกันตามเเผนงาน

                       

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ีายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย และเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย ดังนี้
4.1 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย
เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย แบ่งออกตามฃนิดของสายสื่อสารได้ 3 ชนิด ดังนี้
1) สายตีเกลียวคู่ (twisted pair cable) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดง 2 เส้นที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก พันบิดกันเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นเ้เม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกัน หรือจากภายนอก เนื่อจากการสายตีคู่เกลียวคู่นี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายตีเกลียวคู่จะขึ้นอยู่กับความหนาของสาย คือ สายทองแดงที่เส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สารถส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วสูง โดยทั่วไปใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล สามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินหนึ่งร้อยเมตร เนื่องจากมีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดีจึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง สายตีเกลียวคู่มี 2 ชนิด ดังนี้
1.1) สายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดไม่หุ้มฉนวน (Un-shielded Twisted pair : UTP) เป็นสายตีเกลียวคู่ที่ไม่มีฉนวนชั้นนอก ทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่สามารถป้องกันการรบกวนของชนิดหุ้มฉนวน (STP) ใช้ในระบบวงจรโทรศัพท์แบบดั้งเดิม ปัจจุบันมีการปรับคุณสมบัติให้ดีขึ้น สามารถให้กับสัญญาณความถี่สูงได้ และเนื่องจากมีราคาถูกจึงนิยมใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย
1.2)สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวน หรือชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายตีเกลียวคู่ที่ชั้นนอกหุ้มด้วยลวดถักที่หนา เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า รองรับความถี่ของการส่งข้อมูล ได้ถูกกว่าสายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน แต่มีราคาแพงกว่า
2) สายโคเเอกซ์ ( Coaxial cable ) มีลักษณะเช่นเดียวกันกับสายที่ต้องมาจากเสาอากาศ ประกอบด้วย ลวดทองเเดงที่เป็นแกนหลักหุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึง เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว จากนั้นจะหุ็้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถัก เป็นเปียเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า เเละสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุด ด้วยฉนวนพลาสติก สัญญาณไฟฟ้า สามารถผ่านได้สูงมาก นิยมใช้เป็นช่องสื่อสัญญาณดิจิทัล และชนิด 75 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณ อะนาล็อก
3) สายใยเเก้วนำเเสง ( fiber optic cable ) หรือสายใยนำเเสง แกนกลางของสาย ประกอบด้วย สายใยแก้ว หรือเส้นพลาสติกขนาดเล็ก ภายในกลวง หลายๆ เส้น อยู่รวมกัน เส้นใยเเต่ล่ะเส้นมีขนาดเล็กประมาณเส้นผมของมนุษย์ เส้นใยเเต่ล่ะเส้นห่อหุ้มด้วย เส้นใยอีกชนิดหนึง ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุด ด้วยฉนวน การรับส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลาง ชนิดนี้จะแตกต่างชนิดอื่นๆ ซึงจะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ล่ะเส้น และอาศัยหลักการหักเหของเเสง ด้วยใช้เส้นใยชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนเเสง สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาเเนของสัญญาณข้อมูลที่สูงมาก เเละไม่มีการก่อกวนของคลื่นเเม่เหล็ก ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง หรื่อ วีดิทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน เเต่ยังมีข้อเสีย เนื่องจากการบิดงอของสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหักจึงไม่สามารถใช้สื่อกลางนี้เดินทางตามมุมตึกได้ สายใยเเก้ว นำเเสง มีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคาร หรือระหว่างเมืองกับเมือง.

โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

3.โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
       การสื่อสารโยผ่านระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ จะต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายชนิดต่างๆ กัน ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกันได้โดยตรง ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลที่ส่ง และกำหนดมาตราฐานทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อให้อุปกรณ์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
       3.1 โพรโทคอล
              โพรโทคอล (protocol) คือข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีที่คอมพิวเตอร์จะ จัดรูปแบบและตอบรับข้อมูลระหว่างการสื่อสาร ซึ่งโพรโทคอลจะมีหลายมาตรฐาน และในแต่ละโพรโทคอลจะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป
              การติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครือข่ายนั้น จำเป็นต้องมีโพรโทคอลที่เป็นข้อกำหนดตกลงในการสื่อสารขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบสองระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้โพรโทคอลนี้
เป็นข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล   วิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโพรโทคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย  ซึ่งหากไม่มีโพรโทคอลระดับประยุกต์แล้ว การดำเนินการภายในเครือข่ายยังมีโพรโทคอลย่อยที่ช่วยทำให้การทำงานของเครือข่ายมีประสิทธิภาพขึ้น ซึ่งโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในปัจจุบันมีหลายประเภท ดังตัวอย่างเช่น

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างแผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบ Token Ring
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (อังกฤษcomputer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผลหน่วยความจำ,หน่วยจัดเก็บข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้

ความหมายและพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล


ความหมายและพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล

ความหมายการสื่อสารข้อมูล (Data Communications)
 
การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ  
           วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้  
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
 
           องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม   สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้             1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source)   อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ 
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น
  ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ  ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร 
 จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน             2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด
ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์
  ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ  
ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับ
ข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ
  กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง 


 3. ช่องสัญญาณ  (channel)  ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน  อาจจะเป็นอากาศ  สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว  เช่น  น้ำ  น้ำมัน เป็นต้น                4. การเข้ารหัส  (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย  จึงมีความจำเป็นต้องแปลง
ความหมายนี้
  การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง   
ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้               5. การถอดรหัส (decoding)  หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร  โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน              6. สัญญาณรบกวน (noise)  เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ  มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร  ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ   
กรองสัญญาณแต่ต้นทาง
  เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ  เช่น  การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล  
เป็นต้น
ข่ายการสื่อสารข้อมูล หมายถึง
   การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง  
อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (
Data Communication Networks) 

องค์ประกอบพื้นฐาน
หน่วยส่งข้อมูล (
Sending Unit)

ช่องทางการส่งข้อมูล (
Transmisstion Channel)

หน่วยรับข้อมูล (
Receiving Unit)

วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์


การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผู้รับผิดชอบในการกำหนดกฎเกณฑ์ในการส่งหรือรับข้อมูลตามรูปแบบที่ต้องการ
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ใน รูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับ รับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ
3. โปรโตคอล  (Protocol)
โปรโตคอล คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC  เป็นต้น
4. ซอฟต์แวร์ (Software)
การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell’s Netware, UNIX, Windows NT, Windows 2003 ฯลฯ
5. ข่าวสาร (Message)
เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้
5.1  ข้อมูล (Data)  เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว
5.2  ข้อความ (Text)  อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้ค่อนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง
5.3 รูปภาพ (Image)  เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บ และใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก
5.4  เสียง (Voice)  อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ
6. ตัวกลาง (Medium)
เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับ หรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น